วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำถามเรื่อง Cuban Rumba

คำถาม


1. รุมบ้าถูกนำเข้ามาในอเมริกาโดยชาวอะไร

1) อัฟริกัน
2) ยิว
3) ชนพื้นเมืองอเมริกาเอง
4) เอเชีย

เฉลย 1)


2. รุมบ้าได้รับการพัฒยาต่อเป็นคิวบันรุมบ้าในช่วงไหน

1) ยุคกลาง
2) ยุคเรเนอสซองค์
3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เฉลย 4)


3. ข้อใดเป็นจุดเด่นของการเต้นจังหวะคิวบัน รุมบ้า

1) ลำตัวแข็ง
2) ให้ความสำคัญที่ลำตัว
3) ไม่ถ่ายน้ำหนักตัวระหว่างการก้าว
4) การเคลื่อนไหวไม่ควรเป็นไปตามธรรมชาติ

เฉลย 2)


4. ข้อใดเป็นลักษณะการกก้าวเท้าของคิวบัน รุมบ้า

1) เข่างอทั้งสองข้าง
2) เข่าตึงทั้งสองข้าง
3) ฝ่าเท้าแตะพื้นก่อนราบเต็มเท้า
4) ไม่เคลื่อนไหวสะโพก

เฉลย 3)


5. ข้อใดไม่ใช่ลวดลายพื้นฐานของคิวบัน รุมบ้า

1) Fan
2) Alemana
3) Alumilai
4) Spiral

เฉลย 3)


6. ใครเป็นผู้เขียนตำราเต้นรำของลาตินขึ้นเป็นครั้งแรก

เฉลย WATER LAIRD


7. การเต้นจังหวะ Cuban Rumba จะเน้นความสำคัญไปที่ส่วนใดของร่างกาย

เฉลย ลำตัว โดยจะเน้นไปที่การเคลื่อนไหวร่างกายนุ่มนวล อ่อนช้อย


8. ดนตรีของจังหวะ Cuban Rumba เป็นแบบใด

เฉลย เป็นแบบ 4/4 คือที 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง


9. การจับคู่เต้นรำของจังหวะนี้เป็นแบบใด

เฉลย เป็นแบบปิด คือ มือขวาของชายวางบริเวณสะบักของผู้หญิง


10. ลวดลายของจังหวะคิวบัน รุมบ้า มีกี่แบบ อะไรบ้าง

เฉลย  10 แบบ มี
                1.  เบสิค มูฟเม้นท์ (Basic Movement)
                2.  แฟน (Fan)
                3.  ฮอกกี้ สติ๊ก (Hockey Stick)
                4.  โอเพ่น ฮิพ ทวิสต์ (Open Hip Twist)
                5.  อเลมานา (Alemana)
                6.  แฮนด์ ทู แฮนด์ (Hand To Hand)
                7.  สปอท เทิร์น (Spot Turn)
                8.  แนชเชอรัล ทอป (Natural Top)
                9.  โอเพนนิ่ง เอ๊าท์ (Opening Out)

               10.  สไปรัล (Spiral)

คำถามเรื่อง Primary Health Care

คำถาม


1. ข้อใดไม่จัดอยู่ในการบริการสาธารณสุขพื้นฐาน

1) บริการสาธารณสุขระดับตำบล
2) บริการสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน
3) บริการสาธารณสุขระดับชุมชน
4) บริการสาธารณสุขของรัฐ 

เฉลย 4)


2. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกิจกรรมจำเป็นของการสาธารณสุขมูลฐานไว้ 8 กิจกรรมซึ่งประเทศไทยได้เริ่มนำมาใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่เท่าไหร่

1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5
3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6
4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่

เฉลย 1)


3. ปัจจุบันประเทศไทยได้กำหนดกิจกรรมจำเป็นของสาธารณสุขมูลฐานไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กี่กิจกรรม

1) 8
2) 10
3) 12
4) 14

เฉลย 4)

4. องค์การอนามัยโลกกำหนดกิจกรรมจำเป็นของสาธารณสุขมูลฐานไว้กี่ข้อ
1) 8
2) 10
3) 12
4) 14

เฉลย 1)

5. การจัดเก็บขยะให้ถูกวิธี เป็นการพัฒนาสุขภาพในด้านใด

1) สุขศึกษา
2) โภชนาการ
3) สุขาภิบาล
4) การเฝ้าระวังโรคประจำถิ่น

เฉลย 3)


6. ข้อใดไม่ใช่การพัฒนาสุขภาพด้านการอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว

1) รับฝากครรภ์
2) การดูแลขณะคลอด
3) การพัฒนาสตรี
4) การป้องกันโรคเอดส์

เฉลย 4)


7. ข้อใดไม่ใช่สารปนเปื้อนในอาหารที่จำเป็นต้องตรวจสอบ

1) สารกันบูด
2) ดินประสิว
3) ยาฆ่าแมลง
4) ฟอร์มาลีน

เฉลย 1)


8.องค์ประกอบของสาธารณสุขพื้นฐานมีกี่ข้อและอะไรบ้าง

เฉลย 14 ข้อ

   1.       การสุขศึกษา (Health Education)
   2.       โภชนาการ (Nutrition)
   3.       การจัดหาน้ำสะอาดและการสุขาภิบาล (Water Supply and Sanitation)
   4.       การเฝ้าระวังโรคประจำถิ่น (Surveillance for Local Disease Control)
   5.       การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization)
   6.       การอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว (Maternal Child Health and Family Planning)
   7.       การรักษาพยาบาลง่าย ๆ (Simple Treatment)
   8.       การจัดหายาที่จำเป็นในหมู่บ้าน (Essential Drugs)
   9.       สุขภาพจิต (Mental Health)
   10.    ทันตสาธารณสุข (Dental Health)
   11.   การอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health)
   12.   การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection)
   13.   การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ และโรคไม่ติดต่อ (Accident and Non communicable Disease   Control)
   14.   การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ (AIDS)

9.หลักในการดำเนินงานสาธารณสุขพื้นฐานมีกี่ข้อและอะไรบ้าง

เฉลย มี 4 ข้อ

   1.       การมีส่วนร่วมของชุมชน (People Participation หรือ Community Involvement)
   2.       การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)
   3.       การปรับระบบบริการสาธารณสุขพื้นฐานของรัฐเพื่อรองรับการสาธารณสุขมูลฐาน (Reoriented Basic Health Service)
   4.       การผสมผสานงานสาธารณสุขกับงานพัฒนาสังคมโดยรวม (Intersectoral Collaboration)

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติจังหวะ Cuban Rumba

ลีลาศประเภท Cuban Rumba

ประวัติ
รุมบ้าถูกนำเข้ามาในอเมริกาโดยทาสชาวอัฟริกัน แต่เมื่อราว ค.ศ. 1928-1929 การก้าวเท้าและรูปแบบการเต้นของจังหวะนี้ ยังไม่ชัดเจนทีเดียว คนส่วนมากทึกทักเอาการเต้นของจังหวะนี้เป็นการเต้นรูปแบบใหม่ ของจังหวะ ฟอกซ์ทรอท โดยเพิ่มการใช้สะโพกลงไป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุมบ้า ได้รับการพัฒนาต่อให้เป็น คิวบันรุมบ้า โดย MONSIEUR PIERRE และ DORIS LAVELL นักเต้นรำชาวอังกฤษ ซึ่งมีโรงเรียนสอนเต้นรำอยู่ที่ ถนน REGENT ในนครลอนดอน แต่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร จนกระทั่ง WATER LAIRD เริ่มเขียนตำราเต้นรำของลาตินขึ้น ผลงานของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากหลายองค์กรของการเต้นรำ และทำให้การจัดมาตรฐานบรรลุถึงความเป็นจริง

ลักษณะเฉพาะ
เป็นจังหวะที่จัดอยู่ในประเภทลาติน  อเมริกัน  ลีลาการเต้นจะเน้นความสำคัญอยู่ที่ลำตัว  การเคลื่อนไหวร่างกาย  นุ่มนวล  อ่อนช้อย  สวยงาม  การก้าวเท้าทุกก้าวจะเน้นการถ่ายน้ำหนักตัวจึงดูคล้ายกับมีการเคลื่อนไหวของสะโพก  ขณะเดียวกันเข่าข้างที่มีการเคลื่อนไหวจะตึง  การเคลื่อนไหวควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ

ดนตรี               
            เป็นแบบ 4/4 คือที 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง การนับจังหวะ 2,3,4-1 ต่อเนื่องกันไป ดนตรีของจังหวะนี้บรรเลงด้วยความเร็ว 27-32 ห้องเพลงต่อนาที

การก้าวเท้า        
ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตามจะต้องให้ฝ่าเท้าแตะพื้นก่อนเสมอ แล้วจึงราบลงเต็มเท้า  เข่าจะงอขณะที่ก้าวเท้าและตึงเมื่อรับน้ำหนักตัวเต็มที่แล้ว  ดังนั้นตลอดเวลาการเต้นจังหวัดนี้เข่าจะงอข้างหนึ่งและตึงข้างหนึ่งสลับกันไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวสะโพกอย่างสัมพันธ์กัน

ที่มา : http://unclejed.files.wordpress.com/2012/02/1-15.jpg

การจับคู่เต้นรำ   
การจับคู่แบบลาตินอเมริกันโดยทั่วไปคือ แบบปิด  (มือขวาของชายวางบริเวณสะบักของผู้หญิง)

ลวดลายการเต้น
            จะคล้ายและมีชื่อเดียวกับลวดลายของจัวหงะชา ชา ช่า จะต่างก็ตรงที่จำนวนการก้าวเท้าของคิวบัน รุมบ้าน้อยกว่า ลวดลายของจังหวะคิวบัน รุมบ้า ที่เป็นลวดลายพื้นฐานและนิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่
                1.  เบสิค มูฟเม้นท์ (Basic Movement)
                2.  แฟน (Fan)
                3.  ฮอกกี้ สติ๊ก (Hockey Stick)
                4.  โอเพ่น ฮิพ ทวิสต์ (Open Hip Twist)
                5.  อเลมานา (Alemana)
                6.  แฮนด์ ทู แฮนด์ (Hand To Hand)
                7.  สปอท เทิร์น (Spot Turn)
                8.  แนชเชอรัล ทอป (Natural Top)
                9.  โอเพนนิ่ง เอ๊าท์ (Opening Out)
10.   สไปรัล (Spiral)
                                                
                                                                
                                                คลิปสอนเบื้องต้น



คลิปเต้น



Primary Health Care

สาธารณะสุขมูลฐาน


ที่มา : http://www.esanphc.net/rtc/images/logophc.gif

บทนำ
ในปัจจุบันปัญหาด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะการติดต่อของโรคระบาดที่สำคัญซึ่ง
เป็นโรคที่อุบัติขึ้นใหม่และมีการติดต่ออย่างร้ายแรง ได้แก่ โรคเอดส์ โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก
รวมถึงโรคที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงแต่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและตายสูง เช่น โรคมะเร็ง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่สำคัญของ
ประชาชน ซึ่งงานสาธารณสุขมูลฐานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา
ดังกล่าว เพราะหลักการสำคัญของงานสาธารณสุขมูลฐาน คือการที่ประชาชนมีความสามารถ
ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ตลอดจนมีความสามารถในการแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุข
ในหมู่บ้านหรือชุมชนของตน โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ สนับสนุนตาม
หลักการสาธารณสุขมูลฐาน

นิยาม
การสาธารณสุขมูลฐาน หมายถึง บริการสาธารณสุขในระดับตำบลและหมู่บ้าน
หรือชุมชนในเขตเมืองที่เพิ่มเติมหรือเสริมจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยประชาชนมี
ส่วนร่วมในการดำเนินงานจนถึงระดับที่สามารถดูแลสุขภาพตนเอง และแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
ในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อให้
ชุมชนสามารถพึ่งตนเองในด้านสุขภาพ

องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน (Essential Element of Primary Health Care)
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกิจกรรมจำเป็นของการสาธารณสุขมูลฐานไว้ 8 กิจกรรม
ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มนำมาใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-
2524) ต่อมาได้เพิ่มเติมอีก 2 กิจกรรม เป็น 10 กิจกรรม ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-
2529) และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534) ได้เพิ่มอีก 4 กิจกรรม รวมเป็น
14 กิจกรรม (สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน 2543: 19 -20) ซึ่งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญที่จะต้องช่วยเหลือสนับสนุนให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านี้
เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนในชุมชน ได้แก่
1.       การสุขศึกษา (Health Education)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชน (เช่น ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ผู้นำเยาวชน กรรมการชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น) ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่นและสามารถเผยแพร่ความรู้เรื่องสุขภาพและให้คำแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ
2.       โภชนาการ (Nutrition)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชน (เช่น ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้านแม่ตัวอย่าง อาสาสมัครนมแม่) ให้มีความรู้ และทักษะในการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในชุมชน รวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น กระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาโภชนาการที่เกิดขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโภชนาการของชุมชน

ที่มา : http://www.swimnorac.com/Site/images/SportsNutritionPyramid.JPG

3.       การจัดหาน้ำสะอาดและการสุขาภิบาล (Water Supply and Sanitation)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้ชุมชนมีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการบริโภคและอุปโภค และมีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ดี แต่การดำเนินงานดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนด้วยเช่นกัน โดยการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชนอื่นๆ ให้สามารถให้ความรู้ และสร้างความตระหนักตลอดจนเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมให้ประชาชนร่วมมือกันจัดสิ่งแวดล้อมทั้งในครัวเรือนและในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ มีการจัดเก็บขยะ แยกขยะอย่างถูกวิธี

ที่มา : http://www.studysquares.com/australia/wp-content/uploads/2013/01/Water-supply.jpg

4.       การเฝ้าระวังโรคประจำถิ่น (Surveillance for Local Disease Control)
การป้องกันและระงับโรคติดต่อ เป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน และเฝ้าระวังโรค เพื่อที่จะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที และให้สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคติดต่อที่สำคัญในท้องถิ่นรวมถึงวิธีป้องกันและควบคุมโรคในช่วงฤดูกาลที่มักมีการระบาดและระดมความร่วมมือของชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค
5.       การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization)
ถึงแม้การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะเป็นบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดูแลให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับภูมิคุ้มกันโรคเพื่อมิให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ รวมถึงนัดหมายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกไปให้บริการแก่ประชาชนตามจุดนัดพบต่างๆ ในกรณีที่ชุมชนอยู่ห่างไกลและประชาชนไม่สะดวกที่จะเดินทางไปรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุข
6.       การอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว (Maternal Child Health and Family Planning)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ซึ่งนอกจากภาครัฐจะมีหน้าที่จัดบริการด้านอนามัยแม่และเด็กให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการรับฝากครรภ์ ดูแลขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลัง คลอดแล้ว

ที่มา http://www.londonnfp.com/lnfp/images/family.jpg


7.       การรักษาพยาบาลง่าย ๆ (Simple Treatment)
ถึงแม้บริการรักษาพยาบาลจะเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ให้สามารถให้บริการรักษาพยาบาลง่ายๆ แก่ประชาชนในชุมชน โดยการจัดฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชนใหม่ และอบรมฟื้นฟูอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชนเก่าเป็นประจำทุกปี
8.       การจัดหายาที่จำเป็นในหมู่บ้าน (Essential Drugs)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้การสนับสนุนยาที่จำ เป็นไว้ที่ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน โดยเฉพาะหมู่บ้านในเขตชนบทที่ตั้งในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลสถานพยาบาล

ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj1kPnMJesmA9AdNW_XhPo34YhredgNCfJzTH8PG54RxQBS8rZVT8YJYQ9iao-s78pPjjWdlHiwnd296CTK1ebgUOosHeIdgCbJud_aqMfKr82kTshEaTQAM-lS4jTmTUrWgCmpYipOWhE/s1600/drugs.jpg

9.       สุขภาพจิต (Mental Health)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชนอื่นๆ เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา กรรมการชมรม ผู้สูงอายุ เป็นต้น สามารถดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน รวมถึงช่วยค้นหาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตหรือผู้ป่วยในชุมชน เพื่อจะได้รับการแนะนำและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
10.    ทันตสาธารณสุข (Dental Health)
การส่งเสริมสุขภาพปากและฟันมีความสำคัญในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ หากรอให้เกิดปัญหาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงและเกิดการสูญเสียฟันอย่างถาวร ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรให้การสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชนอื่น ๆ สามารถชี้แจงและให้ความรู้กับประชาชนถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน การส่งต่อหรือนัดหมายประชาชนให้ไปรับบริการในสถานบริการสาธารณสุขหรือเมื่อมีหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เข้ามาในชุมชน


ที่มา : http://trialx.com/curetalk/wp-content/blogs.dir/7/files/2011/05/diseases/Dental_Health-3.bmp

11.   การอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการลดการก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชนอื่นๆ เช่น ผู้นำชุมชนแกนนำเยาวชน ผู้นำกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อมกับประชาชน และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน รวมถึงจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังมิให้มีการกระทำที่ก่อให้เกิดมลภาวะ หากพบผู้กระทำผิดให้ประสานงานแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิดดังกล่าว
12.   การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ผู้แทนผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านค้าแผงลอย แกนนำกลุ่มแม่บ้าน แกนนำเยาวชนที่ทำหน้าที่ อย. น้อย ในสถานศึกษา เป็นต้น ให้มีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การให้ความรู้เรื่องการบริโภคแก่ประชาชน เป็นกรรมการสำรวจร้านอาหาร ร้านค้า แผงลอย และตรวจสารปนเปื้อน 6 ชนิดในอาหาร (ได้แก่ สารบอแร็ก สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน และสารเร่งเนื้อแดง) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ช่วยกันสอดส่องการจัดจำหน่ายบุหรี่ของร้านค้าไม่ให้มีการโฆษณาหรือขายให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นต้น
ที่มา : http://chaurahha.files.wordpress.com/2013/03/heading-image1.gif

13.   การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ และโรคไม่ติดต่อ (Accident and Non communicable Disease Control)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้ประกอบการรถรับจ้างสาธารณะมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ทั้งผู้ใช้รถใช้ถนนคำนึงถึงความปลอดภัย และลดการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการช่วยกันเฝ้าระวังและแจ้งตำแหน่งถนนหรือจุดเสี่ยงภัย และยังสามารถสนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครกู้ภัยหรือช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจัดฝึกอบรมอาสาสมัครให้มีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ เพื่อนำส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วและปลอดภัย สำหรับโรคไม่ติดต่อหรือโรคไร้เชื้อเรื้อรัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถตรวจคัดกรองโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งเต้านมได้ สามารถให้คำแนะนำและส่งต่อผู้ที่พบความผิดปกติให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
14.   การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ (AIDS)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำชุมชน ให้สามารถเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์
และร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง
ในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ตลอดจนมีความสามารถในการดูแล
ช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ ให้สามารถอาศัยอยู่ในชุมชนได้ โดยชุมชนให้การยอมรับ และไม่แพร่กระจาย
โรคเอดส์สู่คนอื่นในชุมชน
ที่มา : http://epsa-online.org/blog/wp-content/uploads/2010/12/ph-1024x1024.jpg

 หลักการในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน
1.       การมีส่วนร่วมของชุมชน (People Participation หรือ Community Involvement)
หมายถึง การที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดปัญหาสาธารณสุขของชุมชนนั้นเอง เป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา และกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาชุมชน รวมทั้งได้ร่วมประเมินผลการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
2.       การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)
หมายถึง การใช้เทคนิควิธีการดำเนินงานง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ยุ่งยาก และมีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น โดยประชาชนสามารถปฏิบัติได้
3.       การปรับระบบบริการสาธารณสุขพื้นฐานของรัฐเพื่อรองรับการสาธารณสุขมูลฐาน
(Reoriented Basic Health Service)
การพัฒนาสุขภาพส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในครอบครัวและชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งเป็นงานสาธารณสุขมูลฐานที่สามารถดำเนินการโดยประชาชนในชุมชนนั่นเองส่วนระบบบริการของรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จะเน้นการบริการสุขภาพที่นอกเหนือหรือเกินจากความสามารถในการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
4.       การผสมผสานงานสาธารณสุขกับงานพัฒนาสังคมโดยรวม (Intersectoral Collaboration)
งานสาธารณสุขมูลฐานจะสำเร็จได้ต้องผสมผสานการทำงานร่วมกับการพัฒนาสังคมด้านอื่นๆ เนื่องจากการพัฒนาสุขภาพจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถแยกขาดจากกันได้

ที่มา : http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/15/15.html